IPV4 และ IPV6
IPv4 คืออะไร
IPv4 คือ หมายเลข IP address
มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4
ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท
ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6
การ กำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล รุ่นที่ 6 หรือ IPv6
ปัจจุบัน
นี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมี
เทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน
ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็น
ส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
กลไก
สำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet
Protocol) ซึงส่วนประกอบที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ ไอพีแอดเดรส
(IP address)
ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ
บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน
จะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลขไอพีแอดเดรส
ที่ไม่ซ้ำกับใคร
ปัจจุบัน
เราใช้ไอพีแอดเดรส (IP address) บนมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตโพรโตคอลคือ
Internet Protocol version 4 (IPv4)
ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ.
1981
ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต
อย่างรวดเร็ว
นัก
วิจัยเริ่มพบว่าจำนวนไอพีแอดเดรส (IP address) ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป
ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตจนคาดคะเนกันว่าหมายเลขไอพีแอดเด
รสของ IPv4 จะมีไม่พอกับความต้องการในปี ค.ศ. 2010
และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับ
ระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet
Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว
จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet
Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม
โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล
ให้รองรับไอพีแอดเดรส (IP address) จำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ
อีกหลายประการ
ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น
(application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น
ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
Internet
Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet
Protocol หรือ IPng
ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit
Ethernet, OC-12,ATM)
และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น
Wireless Network)
นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ
ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ
IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง
(Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network
Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ
และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
ประโยชน์
หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน
ไอพีแอดเดรส ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน
ไอพีแอดเดรส เดิมภายใต้ IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี
128 บิต ความแตกต่างของจำนวน ไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า
รูปที่ 1 รูปแบบของแอดเดรส IPv4 และ IPv6
หมาย
เลขแอดเดรสของ IPv6 มีลักษณะประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่ม
เขียนขั้นกั้นด้วยเครื่องหมาย “ : ” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว
(16 bit)
รูปที่ 2 ตัวอย่างหมายเลขแอดเดรส IPv4 และ IPv6
ด้วยความยาวที่เพิ่มขึ้นของ IPv6 address ทำให้ไม่สะดวกที่จะใช้ตัวเลขฐานสิบ สามารถเขียนแบบย่อได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1.หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใดสามารถจะละไว้ได้
2.หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “ 0 ”
3.หากกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายๆกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด
สามารถจะละไว้ได้โดยใช้เครื่องหมาย “ :: ”
แต่จะสามารถทำลักษณะนี้ได้ตำแหน่งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
รูปที่ 3 ตัวอย่างการเขียนหมายเลขแอดเดรส IPv6 แบบย่อ
เปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6
เฮ
ดเดอร์ (Header) ของข้อมูลแบบ IPv6 แพ็กเก็ต (packet)
ถูกออกแบบมาให้มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes)
และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฮดเดอร์
จะประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet)
ที่เราเตอร์ (router) หรืออุปกรณ์เลือกเส้นทางทุกตัวเท่านั้น
ส่วนตำแหน่งที่อาจจะถูกประมวลผลเฉพาะที่ต้นหรือปลายทางหรือที่เราท์เตอร์บาง
ตัว จะถูกแยกออกมาไว้ที่ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended header)
รูปที่ 4 การเปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6
จะ
เห็นว่าเฮดเดอร์ IPv6 ถึงแม้จะมีขนาดยาวกว่า IPv4
แต่จะดูเรียบง่ายกว่าเฮดเดอร์ของ IPv4 มาก ทั้งนี้หากพิจารณาเฮดเดอร์ของ
IPv6 เทียบกับของ IPv4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิคของ IPv6 และ IPv4
ตำแหน่งข้อมูลที่ตัดออก
Header
length ถูกตัดออกไป เพราะเฮดเดอร์ของ IPv6 มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes)
ทำให้ประสิทธิ ภาพโดยรวมของการประมวลผลแพ็กเก็ตดีขึ้น
ไม่เสียเวลาในการคำนวณขนาดของเฮดเดอร์
•
Identification, Flag, Flag Offset, Protocol,Options, และ Padding
ถูกย้ายไปอยู่ใน ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended
header)เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทุกๆ เราเตอร์
•
Header Checksum
ถูกตัดออกเพราะว่าซ้ำซ้อนกับฟังก์ชันของโพรโตคอลในชั้นที่อยู่สูงกว่า
อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลด้วย เพราะ Checksum
จะต้องมีการคำนวณใหม่ที่เราเตอร์เสมอหากตัดออกก็จะลดภาระงานที่เราเตอร์ไป
ได้
IPv4 คืออะไร
IPv4 คือ หมายเลข IP address
มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4
ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท
ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6
การ กำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล รุ่นที่ 6 หรือ IPv6
ปัจจุบัน
นี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมี
เทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน
ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็น
ส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
กลไก
สำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet
Protocol) ซึงส่วนประกอบที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ ไอพีแอดเดรส
(IP address)
ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ
บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน
จะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลขไอพีแอดเดรส
ที่ไม่ซ้ำกับใคร
ปัจจุบัน
เราใช้ไอพีแอดเดรส (IP address) บนมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตโพรโตคอลคือ
Internet Protocol version 4 (IPv4)
ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ.
1981
ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต
อย่างรวดเร็ว
นัก
วิจัยเริ่มพบว่าจำนวนไอพีแอดเดรส (IP address) ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป
ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตจนคาดคะเนกันว่าหมายเลขไอพีแอดเด
รสของ IPv4 จะมีไม่พอกับความต้องการในปี ค.ศ. 2010
และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับ
ระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet
Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว
จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet
Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม
โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล
ให้รองรับไอพีแอดเดรส (IP address) จำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ
อีกหลายประการ
ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น
(application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น
ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
Internet
Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet
Protocol หรือ IPng
ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit
Ethernet, OC-12,ATM)
และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น
Wireless Network)
นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ
ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ
IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง
(Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network
Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ
และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
ประโยชน์
หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน
ไอพีแอดเดรส ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน
ไอพีแอดเดรส เดิมภายใต้ IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี
128 บิต ความแตกต่างของจำนวน ไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า
รูปที่ 1 รูปแบบของแอดเดรส IPv4 และ IPv6
หมาย
เลขแอดเดรสของ IPv6 มีลักษณะประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่ม
เขียนขั้นกั้นด้วยเครื่องหมาย “ : ” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว
(16 bit)
รูปที่ 2 ตัวอย่างหมายเลขแอดเดรส IPv4 และ IPv6
ด้วยความยาวที่เพิ่มขึ้นของ IPv6 address ทำให้ไม่สะดวกที่จะใช้ตัวเลขฐานสิบ สามารถเขียนแบบย่อได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1.หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใดสามารถจะละไว้ได้
2.หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “ 0 ”
3.หากกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายๆกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด
สามารถจะละไว้ได้โดยใช้เครื่องหมาย “ :: ”
แต่จะสามารถทำลักษณะนี้ได้ตำแหน่งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
รูปที่ 3 ตัวอย่างการเขียนหมายเลขแอดเดรส IPv6 แบบย่อ
เปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6
เฮ
ดเดอร์ (Header) ของข้อมูลแบบ IPv6 แพ็กเก็ต (packet)
ถูกออกแบบมาให้มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes)
และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฮดเดอร์
จะประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet)
ที่เราเตอร์ (router) หรืออุปกรณ์เลือกเส้นทางทุกตัวเท่านั้น
ส่วนตำแหน่งที่อาจจะถูกประมวลผลเฉพาะที่ต้นหรือปลายทางหรือที่เราท์เตอร์บาง
ตัว จะถูกแยกออกมาไว้ที่ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended header)
รูปที่ 4 การเปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6
จะ
เห็นว่าเฮดเดอร์ IPv6 ถึงแม้จะมีขนาดยาวกว่า IPv4
แต่จะดูเรียบง่ายกว่าเฮดเดอร์ของ IPv4 มาก ทั้งนี้หากพิจารณาเฮดเดอร์ของ
IPv6 เทียบกับของ IPv4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิคของ IPv6 และ IPv4
ตำแหน่งข้อมูลที่ตัดออก
Header
length ถูกตัดออกไป เพราะเฮดเดอร์ของ IPv6 มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes)
ทำให้ประสิทธิ ภาพโดยรวมของการประมวลผลแพ็กเก็ตดีขึ้น
ไม่เสียเวลาในการคำนวณขนาดของเฮดเดอร์
•
Identification, Flag, Flag Offset, Protocol,Options, และ Padding
ถูกย้ายไปอยู่ใน ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended
header)เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทุกๆ เราเตอร์
•
Header Checksum
ถูกตัดออกเพราะว่าซ้ำซ้อนกับฟังก์ชันของโพรโตคอลในชั้นที่อยู่สูงกว่า
อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลด้วย เพราะ Checksum
จะต้องมีการคำนวณใหม่ที่เราเตอร์เสมอหากตัดออกก็จะลดภาระงานที่เราเตอร์ไป
ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น